วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ดอยแม่สลอง : แผ่นดินแห่งก๊กมินตั๋ง จังหวัดเชียงราย


กองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง) เป็นกองทัพของรัฐบาลจีน ภาคใต้ของจอมพลเจียง ไค เช็ก 

ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาลจีนที่ส่งมารักษาชายแดนจีน-พม่า การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลจีนกับกองทัพทหารพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อ ตุง ทำให้เจียง ไค เช็ก พ่ายแพ้และหนีไปอยู่ไต้หวัน กองพล 93 ก็เลยกลายเป็นทหารไร้สังกัด หนีการกวาดล้างของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก็มาตั้งหลักอยู่ที่เมืองเชียงลับ ในเขตประเทศพม่า โดยมีอาสาสมัครและครอบครัวลี้ภัยตามออกมาสมทบมากมาย จนได้จัดเป็นกองทัพได้ ๕ กองทัพ ภายใต้คำบัญชาการของนายพล หลี่ หมี

ปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่นเหล่านี้อย่างจริงจัง ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2 และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่ 3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5 ของนายพล ต้วน ซี เหวิน ที่ไม่ไม่ต้องการไปไต้หวันและได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือ




ของประเทศไทย โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือกองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็มาถึงอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่ 5 มาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้พลทหารเอกทวี จุลทรัพย์ และ พลโทเกรียงศักดิ์ ชนะนันทน์ เป็นผู้เจรจากับไต้หวัน

แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนในปี 2513 อเมริกาก็ได้ตกลงเข้ามาช่วย รัฐบาลไทยจึงอนุญาตให้กองทหารจีนอยู่ได้ในฐานะผู้อพยพ เพื่อเป็นกองกำลังกันชนตามแนวชายแดน ป้องกันการแทรกซึมของ ผกค.และพลอากาศเอก ทวี ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านสันติคีรี หมายถึงหมู่บ้านในขุนเขาที่สงบสุข ในขณะที่คนจีนเรียกว่าเรียกดอยนี้ว่า เหมย ซือ เล่อ อันเป็นความหมายเดียวกันว่า ดินแดนที่มีความสุข

 หลังจากนั้น กองกำลังทหารจีนของนายพลต้วน ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่ากองทหารจีนคณะชาติก็ได้เป็นกำลังสำคัญร่วมต่อสู้ต่อต้าน ผกค. ในแถบจังหวัดเชียงรายหลายครั้ง โดยสามารถลดอิทธิพล ผกค.บนดอยหลวง ดอยยาว และดอยผาหม่นลงได้มาก รวมถึงสมรภูมิเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นภาระกิจสุดท้ายก่อนปลดอาวุธให้รัฐบาลไทย

จากหมู่บ้านกองกำลังทหารกลายมาเป็นหมู่บ้านการเกษตรคงไม่ง่ายนัก จากการดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างลำเลียงฝิ่น การตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงครามก็ต้องยุติ แผ่นดินถูกพลิกฟื้น พืชพรรณไม้เมืองหนาวจากโครงการหลวง ชาพันธ์อัสสัม ชิงชิง และอูหลง ได้ส่งมาจากไต้หวัน ชาวบ้านก็มีความหวังใหม่และได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา

ดอยแม่สลองได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ โดยมีนายพล ต้วน ในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นผู้ประสานงานกับทางราชการ ทุกวันนี้คนบนดอยแม่สลองก็ยังพูดถึงนายพลผู้นี้ด้วยความชื่นชมถึงการดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านจนวาระสุดท้ายในปี พ.ศ.2523


• บ้านเกรียงศักดิ์

เนื่องในปี พ.. 2512 คณะนายทหารไทย ซึ่งนำโดย พล อ.อ.ทวี จุลทรัพย์ ได้เดินทางไปเจรจากับกระทรวงกลาโหมใต้หวัน ผลจากการเจรจาทางรัฐบาลใต้หวันได้มอบทหารจีนคณะชาติที่ยังคงค้างอยู่ในประเทศไทยให้กับทางรัฐบาลไทย โดยให้กอบบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งขณะนั้นกอบบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้ง บ.ก.ส่วนหน้า โดยมี พลโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้บังคับบัญชา






ปี พ.ศ. 2516 พลโทเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้เริ่มโครงการปลูกชา โดยนำพันธุ์ชาชั้นเยี่ยมจากใต้หวันมาทำการเพาะปลูกที่แม่สะลองและถ้ำง้อบ เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม เริ่มโครงการเพาะปลูกขั้นแรกจำนวน 6 ล้านต้น และในปี พ.ศ. 2517 ได้ทดลองปลูกสนสามใบจำนวน 18,000 ต้น ต่อมา พ.ศ. 2518 ปลูกเพิ่มอีก 20,000 ต้น พร้อมทั้งแนะนำให้สร้างศาลาทรงจีนอยู่ในป่าสน เพื่อใช้เป็นกองอำนวยการในการโครงการปลูกสน ทั้งยังใช้เป็นที่พบปะพูดคุยดื่มน้ำชาในบรรดาเพื่อนฝูงในธรรมชาติอันเงียบสงบ ดังนั้นศาลาหลังนี้ได้สร้างในปี พ.ศ. 2518

ต่อมาได้สร้างบ้านพักหลังหนึ่งเพื่อใช้รับรองคณะนายทหารและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่มาติดต่องานราชการ เสร็จในปี พ.ศ. 2522 จึงมอบให้ทางราชการในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2522 โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) เป็นผู้รับมอบ และนำชาวบ้านปลูกป่าสนสามใบเพิ่มอีก 18,000 ต้น ที่บริเวณศาลาและรอบบ้านพักจึงได้ตั้งชื่อศาลาว่า ศาลาเกรียงศักดิ์ และ บ้านเกรียงศักดิ์




• ชาและการดื่มชา 

การดื่มชาป้องกันโรคมะเร็งได้ลดคอเลสเตอรอล เพิ่มกานทำงานของกล้าเนื้อหัวใจลดปริมาณไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน มีคาเฟอีนเพียง 1.82 เปอร์เซ็น ที่ไม่เป็นอันตรายที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่จะช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว ขับปัสสาวะ ต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก

รสชาติของชาชนิดต่างๆ 
ชาเขียวอูหลง รสชาติชาเขียวแบบดั้งเดิม ผสมกลิ่นดอกไม้แบบธรรมชาติ
ชาอูเบอร์ 12 รสชาติดี มีกลิ่นมนสดอ่อนๆ
ชาอูหลงก้านอ่อน กลมกล่อม หอมน้ำผึ้ง ดอกไม้ และผลไม้นานาพันธุ์
ชาต้งติ่งอูหลง ชารสดี มีกลิ่นผสมดอกไม้ และกลิ่นลำไยเพิ่มรสชาติ
ชาชิงชิงอูหลง มีกลิ่นหอมของดอกไม้เป็นจุดเด่น
ชาโสมอูหลง ดื่มแล้วหวานหอมชุ่มคอ พร้อมกลิ่นดอกไม้อ่อนๆ
ชาชุ่ยยี่ รสชาติดี มีกลิ่นคล้ายดอกไม้หมื่นลี้ของจีนผสมน้ำผึ้ง
ชามรกต รสชาติคล้ายกับชาชุ่ยยี่ คือมีกลิ่นดอกไม้หมื่นลี้ผสมน้ำผึ้ง แต่เข้มข้นกว่า


ประวัติและชาติกำเนิดสนธิ

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500

หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
กบฎนายสิบ
กบฎเสนาธิการ
กบฎแมนฮัตตัน
กองพล 93 ของกองทัพจีนคณะชาติในภาคเหนือของไทย
การจี้นายควง 6 เมษายน 2491
รัฐประหาร พ.ศ. 2490
รัฐประหาร พ.ศ. 2494
รัฐประหาร พ.ศ. 2500
หมวดหมู่: เหตุการณ์สำคัญ







หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500

โปรดติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

นักรบรุ่นสุดท้าย กองพล 93 ก๊กมิ่นตั่ง



ตอนอื่น ๆ  นักรบรุ่นสุดท้าย กองพล 93 ก๊ก มิน ตั่ง
หลังจากนั้น กองกำลังทหารจีน 93 ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่ากองทหารจีนคณะชาติก็ได้เป็นกำลังสำคัญร่วมต่อสู้ต่อต้านเหล่า ‘ผู้ก่อการร้าย’ (ผกค.)

ในแถบจังหวัดเชียงรายหลายครั้ง โดยสามารถลดอิทธิพล ผกค.บนดอยหลวง ดอยยาว และดอยผาหม่นลงได้มาก รวมถึงสมรภูมิเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นภารกิจสุดท้ายก่อนปลดอาวุธให้รัฐบาลไทย
เส้นทางสู่อนาคต

ระยะทางราว 42 กิโลเมตรจากตัวเมือง ผ่านถนนเลียดไหล่เขาเข้าสู่แหล่งชุมชนชาวเขาขนาดย่อมที่ซุกตัวอยู่ในอ้อมกอดของขุนเขามานานนับทศวรรษ ในหมู่นักท่องเที่ยวรู้ดีว่า ที่นี่เป็นแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทำให้ของซื้อของขายในตลาดประจำหมู่บ้านมักเกี่ยวข้องกับชาเป็นส่วนใหญ่

รวมทั้งขาหมูหมั่นโถวตำรับจีนยูนนานอันเป็นเอกลักษณ์ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้หมู่บ้านสันติคีรีในวันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง กลบภาพสมรภูมิอดีตให้เหลือไว้แต่เพียงเรื่องเล่าสู่คนรุ่นหลังได้ฟัง

ล่าสุด พื้นที่กว่า 9,000 ไร่ ของหมู่บ้านสันติคีรีได้อยู่ในโครงการปลูกป่ากองบัญชาการกองทัพไทย
เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ดูแลโดยคนในชุมชนเอง โดยมีนายพลหลุย หรือ อรุณ เจริญทังจรรยา ประธานกรรมการหมู่บ้านเป็นคนดูแล
เขาเปิดเผยถึงสาเหตุของการเข้าเป็นพลเมืองไทยคนหนึ่งว่า เพราะความเป็นครอบครัวเดียวกันระหว่างคนไทยกับกองพล 93 ที่มีตลอดมา
“สงครามสิ้นสุดแล้ว และที่นี่ก็มี 2 กองทัพไม่ได้ มี 2 กฎหมายไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นบรรทัดฐานเดียว เราจึงเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย อีกอย่างทุกคนในกองพลไม่เคยคิดจะกลับไปไต้หวันหรือจีน เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว ภารกิจสิ้นสุดแล้ว เราก็ถือว่าเราเป็นคนไทย ก็ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะกลับไปจีน หรือไต้หวัน ถ้าจะกลับไปก็จะไปในฐานะแขกคนไทย”


กว่า 30 ปีที่เขาดึงตัวเองออกจากสงครามมาใช้ชีวิตอย่างชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง สิ่งที่รู้สึกอยู่ตลอดก็คือความสงบสุขของชีวิต ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังเหมือนอย่างแต่ก่อนอีก

“ตอนนี้คนในหมู่บ้านก็ถือเป็นรุ่นที่ 2-3 แล้ว เขาก็ขึ้นมาเป็นระดับผู้นำหมู่บ้านแทน เราถือว่ามาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ได้ออกจากภารกิจ ไม่ต้องคอยระวังตัวอยู่ตลอดเวลาเหมือนอย่างแต่ก่อน”
ช่วงเวลาที่ผ่านมาถือว่าคุ้มไหม?
“เหตุการณ์ไม่ได้เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง แล้วมันก็จบสิ้นไปนานแล้ว เราก็ต้องถือว่ามันเป็นความทรงจำไป”
มีต่อ

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

กองพล 93 ของกองทัพจีนคณะชาติในภาคเหนือของไทย กองพล 9

ผู้เรียบเรียง นิติยาภรณ์ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ความเป็นมา ตอน 2


นโยบายของไทยต่อการอพยพของกองกำลังทหารจีนคณชาติ

นโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อการอพยพเข้ามาของกองกำลังทหารจีนคณะชาตินั้นดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นโยบายของรัฐบาลไทยก่อนและหลังจากปีพ.ศ. 2501 เป็นต้นมา ได้มีการดำเนินการส่งทหารจีนคณะชาติกลับไต้หวันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2496 และครั้งที่สอง คือ พ.ศ. 2504

อย่างไรก็ดี ในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนี้เอง รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ประกาศเจตนาที่จะปฏิบัติการตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด และได้ยื่นคำขาดให้กองทหารจีนคณะชาติออกจากเขตแดนไทยภายใน 3 วัน

อีกทั้งได้เตรียมกำลังเคลื่อนย้ายออกไป ในปี พ.ศ. 2505 ได้มีกองทหารจีนคณะชาติล้ำแดนเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก อีกทั้งได้ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในเขตแดนของไทย ทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายให้ปฏิบัติต่อกองทหารจันคณะชาติตามที่ได้ทำตาม

ได้มีการดำเนินการทางการเมืองโดยที่ทางรัฐบาลไทยพยายามเจรจากับรัฐบาลของจีนและการทหารโดยการผลักดันให้ออกนอกประเทศ โดยจะมีการปลดอาวุธและควบคุมตัวหากไม่เดินทางออกไป

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2506 รัฐบาลไทยได้มีมาตราการที่ใช้กับทหารจีนคณะชาติคือการดำเนินการติดต่อกับสถานฑูตของจีนอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องการควบคุม และไม่ใช้เจ้าหน้าที่รัฐบาลติดต่อกับหน่วยทหารโดยตรง

เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นการรับรองฐานะของกองทหารจีนคณะชาติ ทำการปราบปรามยาเสพติด เส้นทางการลำเลียงโดยดำเนินการเป็นครั้งคราว หรือในกรณีเคลื่อนย้ายอาวุธ อันอาจเป็นภัยต่อประเทศ และดำเนินการปราบปรามและจับกุมตามความเหมาะสม

นอกจากนี้แล้ว ตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา กองกำลังทหารจีนคณะชาติกองทัพที่ 3 และ 5 เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการเป็นการถาวรอยู่ตามบริเวณชายแดนไทย อีกทั้งหน่วยข่าวกรองของพรรคก๊ก มิน ตั๋ง ได้เข้ามาใช้พื้นที่ของประเทศไทยในการหาข่าว


นโยบายต่อมาหลังจากปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมารัฐบาลมีนโยบายที่คุมเข้มต่อกลุ่มทหารจีนคณะชาติ เนื่องจากว่าในพื้นที่ชายแดนลาวกับเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ที่เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มจีนฮ่อ นำโดย จาง ซี ฟู (ขุนส่า)

 กับกองทหารจีนคณะชาติ กองทัพที่ 3 และกองทัพที่ 5 ซึ่งในความเข้าใจของคนไทยโดยทั่วไป เห็นว่ากองทัพทั้งสองนี้คือกองพล 93 อาจจะกล่าวได้ว่านโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาลต่อทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่อ ระหว่างปี พ.ศ. 2506-2510

นั้นเป็นนโยบายคุมเชิงและควบคุมกองทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้กลับประเทศไต้หวันตามโครงการส่งกลับในรอบที่สองในปี พ.ศ. 2504 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2513 บก. ทหารสูงสุดส่วนหน้าได้เปิดประชุมปัญหาทหารจีนคณะชาติที่ยังตกค้างอยู่ในประเทศไทย

 โดยมี พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์เป็นประธาน เนื้อหาในการประชุมคือ การที่ทหารจีนคณะชาติเป็นปัญหาเรื้อรังนานถึง 21 ปี ถึงแม้จะมีการอพยพแล้วสองครั้งคือ พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2504 แต่ก็ยังพบว่ามีทหารจีนคณะชาติตกค้างอยู่ในชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 หลังจากที่มีการประชุมในเดือนกันยายน ปีเดียวกันได้มีมติให้กองบัญชาการทหารสูงสุดเข้าควบคุม เคลื่อนย้ายกำลังบางส่วนไปจัดตั้งหมู่บ้านผู้อพยพที่หมู่บ้านผาตั้ง บนดอยผาหม่น และที่บ้านแม่แอบ บนดอยหลวง

ทั้งนี้มติดังกล่าวได้อนุญาตให้กองทหารจีนคณะชาติที่ตกค้างมีอาวุธป้องกันตนเองได้ไประยะหนึ่งก่อน นอกจากนี้แล้วรัฐบาลไทยในช่วงเวลาดังกล่าวได้ยอมรับสถานะของกองกำลังจีนคณะชาติที่ตกค้างให้อยู่ในสถานะผู้อพยพ รวมถึงจัดสถานที่พักให้เป็นหลักแหล่ง

อีกทั้งมีการพัฒนาอาชีพและความรู้โดยอบู่ภายใต้การดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนี้แล้ว ทางรัฐบาลไทยในช่วงปี พ.ศ. 2515 ได้เล็งเห็นว่าควรให้กองทัพไทยควบคุมผู้อพยพแทน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด และการกำหนดที่อยู่ ตลอดจนถึงเรื่องของอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองได้

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รัฐบาลได้มีคำสั่งฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติเรื่องการกำหนดที่อยู่ การพัฒนาอาชีพของกองทหารจีนคณะชาติอพยพ และครอบครัว รวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับหมู่บ้าน และในเวลาต่อมากองทหารจีนคณะชาติดังกล่าว

ได้แปรสภาพกลายเป็นพลเรือนและจัดตั้งหมู่บ้านจำนวน 13 หมู่บ้านด้วยกัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยติดต่อเจรจากับรัฐบาลไต้หวันในเรื่องการส่งกองทหารจีนคณะชาติตกค้างกลับ


ในหมู่บ้านของกองกำลังทหารจีนคณะชาติตกค้างนั้น มีการตั้งโรงเรียนการสอนภาษาจีนที่ดอยแม่สะลอง โดยที่ชุมชนเป็นผู้จัดการศึกษาให้กับบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพ โรงเรียนสอนภาษาจีนนี้สร้างเป็นเหมือนโรงเรียนประจำ

มีหอพักนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง นอกจานี้ยังเปิดโอกาสให้มีนักเรียนจากต่างถิ่นเข้ามาเรียนร่วมด้วยในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลได้มีมติเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่เป็นบุตรหลานของกองทหารจีนคณะชาติ และจีนฮ่ออพยพ

โดยอนุโลมให้เด็กสามารถเข้าศึกษาในโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชน ด้วยเหตุนี้ขึงมีการตั้งโรงเรียนราษฎรขึ้นในพื้นที่พร้อมทั้งมีการคัดเลือกเด็กชาวจีนที่เป็นชายจากหมู่บ้านดอยแม่สะลอง และถ้ำง็อบเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนชาวไทยภูเขาที่อำเภอเชียงดาว

จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังมีการสอนภาษาไทยให้กับลูกหลานของกองทหารจีนคณะชาติอพยพ นอกจานี้แล้ว กองบัญชาการทหารสูงสุดได้เสนอให้สัญชาติไทยแก่บุคคลเหล่านี้ โดยที่คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาให้สัญชาติแก่อดีตทหารจีนคณะชาติ

รัฐบาลไทยในปี พ.ศ. 2527 ได้มีการพิจารณาสาระสำคัญของสถานะภาพของกองทหารจีนคณะชาติหรือกองพล 93 ที่คนไทยเรียก การให้สัญชาติไทยต่อกลุ่มผู้อพยพอดีตกองทหารจีนคณะชาติให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเรื่องนี้ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอย่างเคร่งครัด

โดยไม่กระทำในลักษณะกรณีพิเศษเช่นที่เคยปฏิบัติมา ทั้งในระยะก่อนที่จะให้สถานภาพคนต่างด้าวและหลักจากได้รับสถานะต่างด้าวแล้ว รวมทั้งก่อนที่จะแปลงสัญชาติเป็นคนไทย ทั้งนี้โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการแปลงสัญชาติ



ในการแปลงสัญชาติแทนกองกองบัญชาการทหารสูงสุดที่เป็นหน่วยงานหลัก. ซึ่ง พื้นที่บางส่วนเช่น บ้านเปียงหลวง บ้านถ้ำง็อบ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่บนดอยแม่สะลอง บ้านแม่แอบ บ้านผาตั้ง จังหวัดเชียงราย ส่วนที่บ้านหัวลาง และบ้านนาป่าแปก จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่อาศัยของ
อดีตกองทหารจีนคณะชาติ หรือกองพล 93 และจีนฮ่ออพยพในปัจจุบันนี้



กองพล 93 คืออะไรทำไมถึงเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

มีต่อ

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

กองพล 93 ของกองทัพจีนคณะชาติในภาคเหนือของไทย



ผู้เรียบเรียง นิติยาภรณ์ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ความเป็นมา

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 สภาพทางการเมืองของเหล่าประเทศทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เข้าสู่ยุคของการกลับเข้ามาของเจ้าอาณานิคมเดิมอีกครั้ง หากแต่ในครั้งนี้ ดินแดนที่ตกเป็นอาณานิคมได้สร้างกระบวนการต่อรองอำนาจกับบรรดาประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม รวมไปถึงการเรียกร้องการปกครองตนเอง และขยายวงไปสู่การเรียกร้องเอกราชในที่สุด

อย่างไรก็ตามบรรดาดินแดนที่ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อชาวตะวันตกคือ จีน ทั้งนี้ จีนถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่และเส้นทางยุทธศาสตร์ทางการทหาร และการรบระหว่างญี่ปุ่นกับฝ่ายของ สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เมื่อสงครามโลกครั้งสองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 สถานการณ์ใน

จีนในช่วงเวลาหลังจากนั้นได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 2492 พรรคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะเหนือพรรคก๊ก มิน ตั๋ง โดยมีนายพล เจียง ไค เช็ค เป็นผู้นำในขณะนั้น ทำให้จีนจึงอยู่ภายใต้การปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์

เนื่องจากสภาพการณ์ดังกล่าวมาข้างต้นทำให้นายพล เจียง ไค เช็ค จำเป็นต้องถอยไปตั้งรัฐบาลใหม่ยังเกาะฟอร์โมซา (ประเทศไต้หวันในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตาม ก๊ก มิน ตั๋ง ได้วางกำลังของตนเองไว้ที่มณฑลยูนนาน 2 กองทัพด้วยกันคือ กองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ซึ่งแต่ละ


กองทัพประกอบด้วย 2 กองพล โดยที่กองพล 93 เป็นหน่วยหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกองทัพที่ 26 ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อป้องกันไม่ให้กองกำลังของอีกฝ่ายไล่ตามกองกำลังที่เคลื่อนย้ายไปยังเกาะฟอร์โมซาได้ทัน ในเวลาต่อมากองทัพที่ 8 และกองทัพที่ 26 ก็ถูกกองทัพของฝ่าย

พรรคคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายและถอยลงมายังพื้นที่พม่าตอนบนใกล้กับพรมแดนมณฑลยูนนานของจีน กองทัพที่ 26 ได้ถูกกองกำลังของจีนคอมมิวนิสต์ตีแตกพ่ายอีกครั้งและได้ถอยร่นไปยังลาวและเวียดนาม อีกส่วนก็ถอยเข้ามายังรัฐฉานของประเทศพม่า ผ่านทางรัฐฉานด้านเมือง

เชียงตุง แล้วผ่านมาทางขี้เหล็กของประเทศไทย โดยมีกำลังประมาณ 1,700 คน[4] จำนวนทหารที่อยู่ในส่วนนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นกำลังพลที่มาจากหน่วยกองพล 93 ในปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา พม่าได้ทำการผลักดันกองกำลังของกองทัพที่ 26 ออกจากประเทศพม่า และส่วนหนึ่งเข้า







มายังชายแดนไทย อย่างไรก็ดี สถานการณ์การเมืองที่เกาหลีนั้นได้สร้างความกังวลต่อนานาประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจาก[สงครามเกาหลี|[เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้]]ในปีพ.ศ. 2493 ทำให้สหรัฐอเมริกาเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่กระจายของคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการสร้างแนวยับยั้งคอมมิวนิสต์จากธิเบตถึงประเทศไทย และในขณะเดียวกันก็สนับสนุนทหารจีนคณะชาติในการบุกคืนสู่จีน

กองพล 93 ใหม่นี้ เกิดขึ้นภายใต้การนิยามโดยพล หลี่ เหวิน ฝาน ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวนี้ว่า
“...กองพล 93 นั้นเป็นชื่อของกองพลหนึ่งในกองทัพแห่งชาติของจีน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ... เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 กองพล 93 ถูกถอนกลับหมด ... ข้าพเจ้าไม่เคยเป็นทหารประจำการอาชีพ แต่พวกข้าพเจ้าเป็นเพียงอาสาสมัคร เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน...”

กองพล 93 ใหม่นี้ได้ขยายกำลังเป็นกองทัพกู้ชาติ โดยมีนายพล หลี่ มี่ เป็นผู้บัญชาการ และมีกองกำลังสนับสนุนของหน่วยข่างกรองกลางของสหรัฐอเมริกา ในเวลาต่อมาได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเหล่าทหารปืนใหญ่และเหล่าเทคนิค โดยจัดตั้งขึ้นที่บ้านปงป่าแขมใกล้กับชายแดนไทย

คือ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นเส้นทางในการส่งกำลังบำรุงอีกเส้นทางหนึ่งที่นอกเหนือจากเส้นทางด้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2496 คณะกรรมการ 4 ชาติ กำหนดให้มีการถอนกำลังทหารของจีนคณะชาติกลับไต้หวัน หลังจากปี พ.ศ.

2504 เมื่อกองบัญชาการกองทัพสนามร่วมของนายพล หลิว เหยี่ยน หลิง ที่เมืองเชียงลับ ถูกทหารผสม จีน-พม่า บุกเข้าทำลาย ทำให้ทหารจีนคณะชาติที่อยู่ในบริเวณของรัฐฉานไม่มีฐานที่มั่น ทำให้อพยพเข้ามาสู้ประเทศไทย

กองพล 93 คืออะไรทำไมถึงเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

มีต่อ